เซียงดา ตำลึง ฟักข้าว ฟักทอง


ในกระบวนการปลูกผักสวนครัวทั้งหลาย เวลาปลูกไปนาน ๆ จะมีปัญหาโรคแมลง วิธีจัดการทั้งหลายแต่ละแบบ

ที่แนะนำในคลิปวีดีโอต่าง ๆ  นำมาปฎิบัติจริง บางที่ก็ยุ่งยาก เสียเวลา+บางทีก้ลงทุนมหาศาล

เซียงดากับฟักข้าว  ขึ้นง่าย ตายยาก โดยเฉพาะฟักข้าว…..กอฟักข้าวตัวแม่ ไม่แพ้ต้นวาสนา

ผลที่สุกร่วงใต้ต้น ทำให้มีต้นอ่อน ขึ้นเต็มไปหมด

ยอดที่ใกล้ ๆ มือ เก็บใด้ไม่เป็นกอบเป็นกำ  อาศัย ต้นอ่อนงอก   เวลาเก็บ แรก ๆ เลยถอนทั้งต้น ด้วยกลัวว่ามันจะไปรุกรานพืชอื่น

แล้วเด็ดเฉพาะยอดอ่อนที่สามารถเด็ดใด้กับใบ  ช่วงรากจะเหนียวมาก  พัฒนาการต่อมา  ตัดเฉพาะยอดที่ใช้ใด้เลย สามารถล้างลงหม้อ กะทะ ใด้…เหลือให้เป็นตอรอเก็บ ครั้งถัดไป จนเรารู้สึกว่ามันไม่ไหวแล้ว ค่อยถอนกลบทำปุ๋ย

ผลฟักข้าว ปัญหาเรื่องหนอนในผลสุก เข้าใจว่า ขึ้นกับลักษณะระบบนิเวศน์ที่ปลูก ถ้าเป็นพื้นซีเมน ประมาณว่าปลูกในเมือง

ปัญหาน่าจะไม่มี ถ้ามี ก็ห่อตอนลูกยังเขียว ๆ มีคนแนะนำบอกให้ใช้กระเพราใล่ แต่รายละเอียดจะยังไง ไม่กล้าตามต่อ   ผู้รู้อีกท่านเสริมต่อว่าต่อว่าต้องเป็นกระเพราแดงด้วย…..จบเลย ลำพังปลูกกระเพราแดงรอดอยู่รุ่นแรกรุ่นเดียว ต่อจากนั้น เห็นแต่กระเพราขาวขึ้นเต็มไปหมด

กรณีฟักข้าวปลูกในสวน ในที่ ๆ มีกองใบไม้ใบหญ้าตามพื้นตามโคนต้น  ค่อนข้างชัวร์เรื่องหนอน แต่ถ้าไม่มี โชคดีสุด ๆ

ผลสุกฟักข้าวกระบวนการเอามาทาน ยุ่งยาก นึกภาพแล้ว  ลมบะค่อยจอยเอาเสียเลย

เอายอดอ่อน กับผลดิบ มาทานดีกว่า  ผลดิบรสชาดใช้ใด้เลย ส่วนยอดก็ผสมผสานกันทั้งยอดจริงกับยอดต้นอ่อน

เซียงดา  ว่าไม่เห็นมีโรคอะไร หลัง ๆ มามีใบหงิก กับหนอน มาห่อยอด  จัดการแต่เนิ่น ๆ ขยันเด็ดยอดแข่งกับหนอน ก็หมดปัญหาไป  ส่วนตำลึง  ต้องบอกว่า จากที่ลองทานยอดจากต้นปรกติ ในเวบ บอกมีใบตัวผู้ตัวเมีย ต้องเก็บหลังฝน  อะไรประมาณนี้ ถ้าไม่ก็จะเป็นยาระบาย…..แต่ทางปฎิบัติก็เช่นกัน เว้นตามนั้นแล้ว ก็ยังเป็นยาระบายอยู่ดี  หันมาทานจากยอดต้นอ่อน ผสมกับผักอื่น เข้าท่านะ   ตำลึงปล่อยใว้นานก็มีปัญหาเรื่องราใต้ใบ  เพราะฉะนั้น เก็บทานแนวเดียวกับฟักข้าวดังที่กล่าวมาแล้ว ดีที่สุด

สำหรับฟักทอง  ต้นอ่อนนึกว่าจะฟีลลิ่งเดียวกับต้นอ่อนทานตะวัน….ไม่เลย  แต่ถ้ามีเยอะ ๆ ก็ผสมผสานผนึกกำลังผัด-แกงผักรวมในหม้อเดียวกันไม่น่าเกลียด  ส่วนดอก ตัวผู้เยอะไปก็เก็บ เหลือให้ดอกตัวเมีย ที่น้อยมาก ๆ บาน วันไหนไม่รู้ ใด้ผสมเกสรด้วย

Leave a comment